วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

เขื่อนและอ่างเก็บน้ำในประเทศไทย

รายชื่อเขื่อนในประเทศไทย

เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
เขื่อนอุบลรัตน์ (เขื่อนพองหนีบ) จังหวัดขอนแก่น
เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) จังหวัดชัยภูมิ
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
เขื่อนแม่ปิงตอนล่าง จังหวัดตาก
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา
เขื่อนคีรีธาร จังหวัดจันทบุรี
เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี-สระบุรี
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
เขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเขื่อนแห่งแรกในประเทศไทย
เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขื่อนแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท
เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี












ชื่อ :เขื่อนภูมิพล
ขนาดพื้นที่ :บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ 8 ของโลก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง154 เมตร ยาว486เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 3,462 ล้านลูกบาศก์เมตร
การใช้ประโยชน์ :ผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการของประเทศแล้ว ในด้านการชลประทาน ยังสามารถปล่อย น้ำในอ่างเก็บน้ำ ไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่จังหวัดตาก กำแพงเพชร และพื้นที่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๗.๕ ล้านไร่ รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน และอำนวยประโยชน์ ในด้านการประมงอีกด้วย ผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จังหวัดตาก ภายในบริเวณเขื่อน มีสวน สาธารณะที่มีความร่มรื่น ชื่อ “สวนน้ำพระทัย” และที่เขื่อน แม่ปิงตอนล่างก็มี “สวนเฉลิมพระเกียรติ” ไว้ต้อนรับ นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนด้วย
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี









ชื่อ :เขื่อนปากมูล
ขนาดพื้นที่ : เป็นคอนกรีตอัดบดแน่นมีอาคารระบายน้ำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แยกเป็นช่องทางระบายน้ำ 8 ช่อง ขนาดกว้าง 22.5 เมตร สูง 14.75 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 18,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
การใช้ประโยชน์ :โรงไฟฟ้า เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่ด้านขวาของตัว เขื่อน โดยมีความยาวไปตามแนวเขื่อน 72 เมตร ภายในโรงไฟฟ้าติดตั้งเครื่องผลิต ไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง ซึ่งเป็นแบบที่มีลักษณะพิเศษกว่าที่มี ติดตั้งอยู่ตามเขื่อน ต่างๆ ในประเทศไทยขณะนี้ คือมีรูปร่างคล้ายกระสวย หรือเรือดำน้ำ เครื่องกัง หันน้ำและเครื่องผลิตไฟฟ้าบรรจุรวมอยู่ใน กระเปาะเดียวกัน (Bulb Turbine Generator) สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วยความสูงของน้ำเพียง 3 เมตร ขึ้นไปแต่ละเครื่องมีกำลังผลิต 34,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 136,000 กิโลวัตต์ได้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 280 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
ระบบส่งไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเขื่อนปากมูลจะถูกส่งไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบล ราชธานี2 ด้วยสายส่งไฟฟ้า ขนาด 115 กิโลโวลต์ ความยาว 70 กิโลเมตรจากนั้นจึงส่งต่อไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงศรีสะเกษ (65 กิโลเมตร) เพื่อเชื่อมเข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้าของประเทศ.
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : มี









ชื่อ : หนองหาน
ขนาดพื้นที่ : เป็นหนองน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 77,000 ไร่ มีลำน้ำ 14 สาย ไหลลงสู่หนองหาน หนองหานเป็นหนองน้ำธรรมชาติที่มี “ลำน้ำก่ำ” ไหลเชื่อมจากหนองหานลงสู่แม่น้ำโขง
การใช้ประโยชน์ : เป็นแอ่งรับน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุด เป็นพื้นที่ที่มีสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้บริเวณหนองหานยังประกอบไปด้วย ดอนที่มีขนาดน้อย-ใหญ่และมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ได้แก่ ดอนสวรรค์ใหญ่ ดอนสวรรค์น้อย ดอนหวาย ดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหน่วยพื้นที่ที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายและได้กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ โดยรอบพื้นที่ ซึ่งเหมาะแก่การศึกษาและท่องเที่ยว พักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : มี









ชื่อ : บึงบอระเพ็ด
ขนาดพื้นที่ :บึงบอระเพ็ดมีพื้นที่รับน้ำประมาณ 2.75 ล้านไร่ หรือ 4,400 ตร.กม. ระดับความลึกเฉลี่ยของน้ำในบึงประมาณ 1.6 เมตร บริเวณที่ลึกที่สุดประมาณ 5 เมตร ระดับน้ำต่ำสุดในเดือนสิงหาคม และสูงสุดในเดือนตุลาคม มีเนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 62,500 ไร่ (100 ตร.กม.) ในบึงมีเกาะเล็กๆ อยู่ราว 10 เกาะ เนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ (1.44 ตร.กม.)


การใช้ประโยชน์ :บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งน้ำ แหล่งเพาะปลูกพืชน้ำ แหล่งน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยง มีประโยชน์ต่อการคมนาคม และมีคุณค่าทางนันทนาการและการท่องเที่ยว แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เป็นแหล่งผลิตทรัพยากรประมงที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศ นำรายได้มาสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบบึงที่ประกอบอาชีพการประมงตลอดมา คาดประมาณว่ามีปริมาณการจับปลาโดยเฉลี่ย 1,200-1,500 ตัน/ปี และมีปลาเลี้ยงจากบ่อและกระชังอีกประมาณ 2,000 ตัน/ปี ช่วงปี 2513-19
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : มี







ชื่อ : กว๊านพะเยา
ขนาดพื้นที่ :บริเวณนี้เป็นศุนย์รวมลำห้วยต่างๆถึง 18 สาย มีเนื้อที่ทั้งหมด 12831 ไร่ ต่อมากรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดขึ้นบริเวณต้นแม่น้ำอิง และสร้างเป็นฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงธรรมชาติขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร
การใช้ประโยชน์ :ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนธาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : มี





ชื่อ : เขื่อนเจ้าพระยา
ขนาดพื้นที่ : สร้างปิดกั้นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท มีช่องระบายน้ำ กว้าง 12.50 เมตร 16 ช่อง เป็นเขื่อนระบายน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495 เสร็จ พ.ศ. 2500 รวมพื้นที่ 7,250,000 ไร่
การใช้ประโยชน์ : เพื่อทดน้ำส่งให้พื้นที่ในเขตโครงการ ชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ 17 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครนายก สมุทรสาคร สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี









ชื่อ :เขื่อนวชิราลงกรณ์
ขนาดพื้นที่ :สร้างปิดกั้นแม่น้ำแม่กลอง ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี มีช่องระบายน้ำ กว้าง 12.50 เมตร 8 ช่อง สร้างเมื่อพ.ศ. 2507 เสร็จพ.ศ. 2513 รวมพื้นที่ 2,622,000 ไร่
การใช้ประโยชน์ :เพื่อทดน้ำ ส่งให้พื้นที่ในเขตโครงการชลประทาน แม่กลองใหญ่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี และเพชรบุรี
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี







ชื่อ :เขื่อนพระรามหก
ขนาดพื้นที่ :สร้างปิดกั้นแม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีช่องระบายน้ำกว้าง 12.50 เมตร 6 ช่อง รวมพื้นที่ 680,000 ไร่ สร้างเมื่อ พ.ศ.2458 เสร็จ พ.ศ.2467
การใช้ประโยชน์ :เป็นเขื่อนระบายน้ำแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อทดน้ำส่งให้พื้นที่ใน เขตโครงการชลประทานป่าสักใต้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และปทุมธานี
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี







ชื่อ :เขื่อนเพชร
ขนาดพื้นที่ :สร้างปิดกั้นแม่น้ำแม่เพชรบุรี ที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มีช่องระบายน้ำ กว้าง 6 เมตร 4 ช่อง สร้างเมื่อพ.ศ. 2485 เสร็จพ.ศ. 2493 รวมพื้นที่ 336,000 ไร่
การใช้ประโยชน์ :ปลายเขื่อนทั้งสอง ข้างมีลักษณะเป็นฝาย เพื่อช่วยระบายน้ำในเวลาน้ำนอง ทดน้ำส่งให้พื้นที่ในเขต โครงการชลประทานเพชรบุรี
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ :
ไม่มี







ชื่อ :เขื่อนน้ำเชิญ
ขนาดพื้นที่ :สร้างปิดกั้นลำน้ำเชิญ ที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีช่องระบายน้ำ ขนาด 6.00 x 6.50 เมตรจำนวน 4 ช่อง สร้าง พ.ศ. 2520 เสร็จ พ.ศ. 2522
การใช้ประโยชน์ :เพื่อทดน้ำและส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกในโครงการสหกรณ์ น้ำเชิญ ในฤดูฝนได้ประมาณ 20,000 ไร่ และในฤดูแล้งได้อีกประมาณ 15,000 ไร่ และในระยะต่อมาโครงการสหกรณ์น้ำเชิญสามารถขยาย พื้นที่ส่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูกในฤดูฝนเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 5,000 ไร่ เนื่องจากน้ำต้นทุนของน้ำเชิญมีปริมาณเพียงพอ
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี







ชื่อ :เขื่อนปัตตานี
ขนาดพื้นที่ :สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี ที่เขตติดต่อระหว่างอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา กับอำเภอ ยะรัง และอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีช่องระบายน้ำกว้าง 6 เมตร 6 ช่อง มีประตู ระบายทรายอยู่ทางด้านขวา ดัวเขื่อนขนาดกว้าง 60 เมตร อีก 1ช่อง เริ่มโครงการ พ.ศ. 2511 ตัวเขื่อนปัตตานีสร้างเสร็จ พ.ศ. 2523 งานระบบส่งน้ำ ระบบ ระบายน้ำ และงานพัฒนาในแปลงนาเสร็จ พ.ศ. 2530
การใช้ประโยชน์ :เป็นเขื่อนทดน้ำคอนกรีตแห่งแรกที่มีอ่างเก็บน้ำ เหนือเขื่อน เนื่องจากพื้นที่ทางฝั่งซ้ายและฝั่งขวาเหนือเขื่อนสร้างคันกั้นน้ำเป็นทางยาว เพื่อป้องกันจากแม่น้ำปัตตานี ท่วมไร่นาสองฝากฝั่งแม่น้ำ จึงทำให้พื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ยาวไปตามลำน้ำ เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่เปาะปลูกทั่งสองฝั่งลำน้ำ ปัตตานีในท้องที่อำเภอโคกโพธิ์ ยะรัง มายอ หนองจิก เมืองปัตตานี ยะหริ่ง และปะนะเระ จังหวัดปัตตานี กับพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมืองยะลา ประมาณ 33,000 ไร่
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี







ชื่อ :เขื่อนนเรศวร
ขนาดพื้นที่ :สร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน ที่บ้านหาดใหญ่ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก สร้างพ.ศ. 2520 ตัวเขื่อนเสร็จพ.ศ. 2523 งานระบบส่งน้ำเสร็จพ.ศ. 2528 จำนวน 572,400 ไร่ และพื้นที่บริเวณฝั่งซ้ายตอนบนของแม่น้ำน่านบริเวณทุ่งสานใน เขตจังหวัดพิษณุโลกอีกจำนวน 94,700 ไร่ นอกจากนี้หากได้ก่อสร้างโครงการพิษณุโลกระยะที่ 2 จะช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกบริเวณฝั่งซ้ายตอนล่างของแม่น้ำน่านอีกจำนวน 753,750 ไร่ ในเขต จ.พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์
การใช้ประโยชน์ :เพื่อทดและส่งน้ำให้แก่พื้นที่บริเวณฝั่งขวาของ แม่น้ำน่านในเขต 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก พิจิตร และส่วนบนของจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อบรรเทาอุทกภัยจากแม่น้ำยม บริเวณพื้นที่ในเขตโครงการฯ
มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี

ไม่มีความคิดเห็น: