วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ปลาปิรันย่า

ปลาปิรันยา (Serrasalmus spp.)





"ปิรันยา" เป็นปลาน้ำจืด สกุล "เซอร์ราซัลมัส" (Serrasaimas)
อยู่ในครอบครัว "คาราซิดี" (Characidae)
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้และแอฟริกา
ทั้งหมดมีอยู่ 25 ชนิด และ 4 ชนิดเท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์...!!




ชื่อไทย : ปลาปิรันยา หรือ ปิรันฮา

ชื่ออังกฤษ : Piranhas

ถิ่นที่อยู่อาศัย : มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้และอัฟริกา แหล่งของปลาปิรันยาที่ขึ้นชื่อได้แก่แม่น้ำ อเมซอน และโอริโนโก รูปร่างลักษณะ เป็นปลาที่มีความสวยงามพอสมควร เคยมีผู้ลักลอบสั่งเข้ามาเลี้ยงจนกระทั่งมีเรื่องราวเกิดขึ้นเพราะผิดกฎหมาย ลักษณะเด่นของมันคือ มีฟันอันคมกริบ เกร็ดเล็กละเอียด แวววาว เมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 20-30 ซ.ม

ลักษณะทั่วไป :ของปลาปิรันยาลำตัวแบนข้าง ส่วนท้องกว้าง (คล้ายปลาแปบหรือปลาโคกของไทย) บางชนิดมีจุดสีน้ำตาลและสีดำ บางชนิดข้างลำตัวส่วนล่างสีขาว, สีเหลืองและสีชมพู แล้วแต่ละชนิดแตกต่างออกไป เกล็ดบริเวณสันท้องเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อยจำนวน 24-31 อัน
.....มีอาวุธสำคัญ คือ "ฟัน" ที่มีแถวเดียวเป็นรูปสามเหลี่ยมและแหลมคมมาก สามารถกัดเนื้อให้ขาดได้อย่างง่ายดาย ริมฝีปากล่างยื่นออกมายาวมากกว่าริมฝีปากบน แต่เมื่อหุบปากจะปิดสนิทระหว่างกันพอดี ในอดีตชาว "อินเดียน" ใน "กิอานา" ได้ใช้เป็นอาวุธ โดยนำฟันของปิรันยามาทำเป็นใบมีดหรือหัวของลูกธนู

อุปนิสัย :เป็นปลาดุร้ายมาก นับว่าน่ากลัวมากทีเดียว ปิรันยามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เป็นร้อยหรือเป็นพันๆตัว เมื่อกินอาหาร จะใช้วิธีล่าเหยื่ออย่างหิวกระหาย โดยการพุ่งเข้าโจมตี อย่างรวดเร็ว แล้วรุมกัดแทะ แม้ว่าเหยื่อมี "ขนาดใหญ่เท่าช้าง" ฝูงปิรันยาก็ไม่เคยละเว้น แต่จะช่วยกัน รุมกัดกินจนเหลือ แต่กระดูก มันจึงถูกขนานนามว่า "เพชฌฆาตแห่งลุ่มน้ำจืด"

อาหาร :อาหารที่ปลาปิรันยาชอบคือเนื้อสด หากินรวมกันเป็นฝูง พุ่งเข้าโจมตีเหยื่ออย่างรุนแรง ฟันสามารถฉีกกัดเนื้อของเหยื่อ ให้เป็นแผลเหวอะหวะ ด้วยความรวดเร็ว

สถานที่ชม : สวนสัตว์เชียงใหม่















.....เนื่องจากปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วมาก ในพื้นที่เขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทยดังนั้นจึงเป็นอันตรายอย่างมาก หากสามารถหลุดรอดลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติได้...!!

.....ทั้งนี้ผู้ครอบครองปลาปิรันยาจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มาตรา 53 ที่กำหนดให้ปลาปิรันยา เป็นสัตว์ต้องห้ามนำเข้า ห้ามครอบครอง ห้ามนำไปปล่อยใน แหล่งน้ำ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1.2 แสนบาท

.....อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ปลาปิรันยา ถือเป็นปลาที่อันตราย ซึ่งหากมี การปล่อยลงตามแหล่งน้ำธรรมชาติอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรง จึงอยาก ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยกันสอดส่องดูแล หากพบมีการครอบครองปลาปิรันยา ให้รีบ แจ้งกรมประมงให้รับทราบทันที เพื่อดำเนินการตรวจสอบและจับกุมได้อย่างทันท่วงที

วัตถุมีพิษตามพระราชบัญญัติการประมง

วัตถุมีพิษ











......มาตรา 19 : ห้ามมิให้บุคคลใด เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ลงในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใดๆอันทำให้สัตว์น้ำมึนเมา หรือเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำ หรือทำให้สัตว์น้ำเกิดมลพิษ เว้นแต่เป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่











วัตถุมีพิษ หมายถึง




....."สารออกฤทธิ์หรือวัตถุที่มีสารออกฤทธิ์ผสมอยู่ด้วย และให้หมายความรวมถึงวัตถุมีพิษธรรมดาและวัตถุมีพิษร้ายแรง" แต่ในมาตรานี้เป็นวัตถุมีพิษตามรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจานุเบกษา





องค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับการทิ้งวัตถุในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำตามมาตรา 19 มีดังนี้



...... (1.)เท ทิ้ง ระบายหรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาลงไปในที่จับสัตว์น้ำ

...... (2.)กระทำการใดๆอันทำให้สัตว์น้ำมึนเมาในที่จับสัตว์น้ำ

...... (3.)เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อแก่สัตว์

...... (4.)หรือทำให้เกิดมลพิษ

...... (5.)เว้นแต่เป็นการเป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่





..........วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 20 มกราคม 2532 มี 12 ชนิด ซึ่งรวมทั้งสารที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นแต่มีสูตรโครงสร้างเดียวกัน โดยกำหนดความเข้มข้น 6 ชนิดและอีก 6 ชนิดกำหนดให้มีไม่ได้เลย ดังนี้

.....(1.) DDT อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm

.....(2.) Dieldrim อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm

.....(3.) Aldrin อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm

.....(4.) Heptachor ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm

.....(5.) Heptachor epoxide ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm

.....(6.) Carbofuran ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm

.....(7.) Endrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(8.) Chlorpyrifos กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(9.) Endosulfan กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(10.) Deltamethrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(11.) Sodiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(12.) Potassiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย





..........ความผิดตามมาตรานี้ ความผิดสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อมีการ เท ทิ้ง ระบายวัตถุมีพิษ หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ได้แก่ คลอง หนองบึง แม่น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุแห่งวัตถุที่ทิ้งนั้นว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ก็ตาม ก็มีความผิดตามมาตรานี้แล้ว

องค์การสะพานปลา

องค์การสะพานปลา
Fish Marketing Organization











.......ความเป็นมาของหน่วยงานในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวการณ์ประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้

.............- บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
.............- บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
.............- การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
.............- จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
.............- บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)
.............- บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ) จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


วิสัยทัศน์/แผนการดำเนินงาน

..........1.พัฒนาตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำให้เข้าสู่ระบบ ISO 9002 และ ISO 14000
..........2.สนับสนุนระบบการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำด้วยวิธีการขายทอดตลาด (วิธีประมูล) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงและผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา
..........3.ปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดสินค้าสัตว์น้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงได้รับรู้อย่างรวดเร็วด้วยระบบสารสนเทศที่พัฒนาแล้ว


ภารกิจ/วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

..........1.จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
..........2.จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
..........3.จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
..........4.จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
..........5.สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
..........6.กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ

อำนาจหน้าที่

..........1.กองบริหารทั่วไป อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป ประกอบด้วย งานสารบรรณ งานเจ้าหน้าที่ งานวิศวกรรม งานนิติการ และงานประชาสัมพันธ์
..........2.กองคลัง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบัญชีขององค์การสะพานปลาทั้งหมด รวมถึงการเงิน การพัสดุ และการงบประมาณและสถิติ
..........3.กองพัฒนาการประมง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ วางแผนโครงการต่างๆ และประเมินผล จัดส่งเสริมฐานะ สวัสดิการและอาชีพของชาวประมง
..........4.สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบทำนองเดียวกับข้อ 1-3 โดยอนุโลมรวมถึงอำนวยบริการการจอดเรือประมง การขนถ่าย การคัดเลือกสินค้าสัตว์น้ำ การจราจร ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น
..........5.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานประชุม การรายงานการประชุม เวียนมติที่ประชุม
..........6.งานผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบตรวจและแนะนำการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน
..........7.งานผู้ตรวจสอบภายใน อำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การเงิน การพัสดุ รวมถึงการให้คำแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไข
การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา

ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา
พ.ศ.2496 ดังนี้

...........1.การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
...........2.การพัฒนาการประมง เพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย
...........3.การส่งเสริมการประมง การส่งเสริมการประมงเป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
...........4.การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การจำหน่ายน้ำแข็ง เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส

โครงสร้าง-แผนผังองค์กร

.....1.กองบริหารทั่วไป ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0300 Fax. 0-2212-5899
.....2.กองคลัง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-2992 Fax. 0-2213-2780
.....3.กองพัฒนาการประมง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0471 Fax. 0-2212-4494
.....4.สะพานปลากรุงเทพ ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-4394 Fax. 0-2212-4690
.....5.สะพานปลาสมุทรสาคร ที่อยู่ 1024 ถ.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 Tel. 0-3442-2803 Fax. 0-3442-2803
.....6.สะพานปลาสมุทรปราการ ที่อยู่ 340 หมู่ที่ 6 ถ.ท้ายบ้าน ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10280 Tel. 0-2395-1647-8 Fax. 0-2395-2789
.....7.ท่าเทียบเรือประมงสงขลา ที่อยู่ เลขที่ 1 ถ.ท่าเทียบเรือ ต.บ่อยาง อ.เมืองฯ จ.สงขลา 90000 Tel. 0-7431-3606, 0-7431-1444 Fax. 0-7431-3606
.....8.ท่าเทียบเรือประมงระนอง ที่อยู่ ถ.สะพานปลา ต.ปากน้ำ อ.เมืองฯ จ.ระนอง 85000 Tel. 0-7781-1532 Fax. 0-7781-2232
.....9.ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี ที่อยู่ 3/1 ถ.้ต้นโพธิ์ ต.ตลาดล่าง อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84000 Tel. 0-7727-2545 Fax. 0-7728-1545
.....10.ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ที่อยู่ หมู่ที่ 8 ถ.นาเกลือ ต.บานา อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี 94000 Tel. 0-7334-9168 Fax. 0-7334-9342
.....11.ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ถ.ศรีสุทัศน์ ต.รัษฎา อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต 83000 Tel. 0-7621-5489, 0-7621-1699 Fax. 0-7621-1699
.....12.ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ที่อยู่ ถ.ชมสินธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 Tel. 0-3251-1178 Fax. 0-3251-1178
.....13.ท่าเทียบเรือประมงตราด ที่อยู่ ถ.ชลประทาน ต.วังกระแจะ อ.เมืองฯ จ.ตราด 23000 Tel. 0-951-1176 Fax. 0-3951-11761
.....14.ท่าเทียบเรือประมงสตูล ที่อยู่ ต.ตำมะลัง อ.เมืองฯ จ.สตูล 91000 Tel. 0-7472-2169 Fax. 0-7472-2169
.....15.ท่าเทียบเรือประมงชุมพร ที่อยู่ 400 หมู่ที่ 8 ต.ปากน้ำ อ.เมืองฯ จ.ชุมพร 86120 Tel. 0-7752-1122 Fax. 0-7752-1209
.....16.ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ที่อยู่ 431 หมู่ที่ 4 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หรือ ตู้ ปณ. 8 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140 Tel. 0-7551-7752, 0-7551-7754-5 Fax. 0-7551-7753
.....17.ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี ที่อยู่ ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
.....18.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ องค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899
.....19.ผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2212-4256 Fax. 0-2212-5899
.....20.ผู้ตรวจสอบภายใน ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899

การจำแนกเครื่องมือทำการประมง

การจำแนกเครื่องมือทำการประมง








.........คือ เครื่องมือที่ใช้จับหรือสัมผัสสัตว์น้ำโดยตรง และเครื่องมือช่วยทำการประมง (Auxillary Gears) คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้การจับสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หรือช่วยให้การจับสัตว์น้ำสำเร็จลงได้ เช่น เรือ เครื่องทุ่นแรง เครื่องหาฝูงปลา ซั้ง เป็นต้น





การจำแนกเครื่องมือทำการประมง สามารถแบ่งได้ดังนี้



การจำแนกตามลักษณะการทำงาน (การทำประมง) คือ


1. เครื่องมือประเภทเคลื่อนที่ (Moveable fishing gears)
........
หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือดังกล่าวมีการเคลื่อนที่ และห่างออกไปจากตำแหน่งที่เริ่มต้นด้วยแรงของกระแสลม กระแสน้ำ คน หรือเครื่องยนต์เรือ
2. เครื่องมือประเภทประจำที่ (Stationary fishing gears)
........หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ใช้วิธีลงหลัก ปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือและส่วนประกอบอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง และทำการจับสัตว์น้ำตรงจุดที่ตั้งเครื่องมือนั้นๆ ทุกครั้ง
3. เครื่องมือประเภทกึ่งประจำที่ (Semi-stationary fishing gears)
........หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือนั้นจะถูกยึดถ่วงรั้งให้อยู่กับที่ในระยะเวลาหนึ่ง หรือจนสิ้นสุดการจับสัตว์น้ำแต่ละครั้งเสร็จแล้วเก็บอุปกรณ์ขึ้นเรือ เพื่อนำไปใช้ในบริเวณอื่นๆได้อีก


จำแนกตามขนาดของธุรกิจ คือ


1. เครื่องมือประมงพื้นบ้าน
........
หมายถึง เครื่องมือประมงที่ไม่ใช้เรือหรือใช้ประกอบกับเรือขนาดไม่เกิน 5 ตันกรอส
2. เครื่องมือประมงพาณิชย์
........หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ประกอบกับเรือที่มีขยาดเกินกว่า 5 ตันกรอส การจำแนกตามกรรมวิธีในการจับสัตว์น้ำ

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

ชนิดและเครื่องมือทำการประมง

เครื่องมือในพิกัด

........เครื่องมือทำการประมงในพิกัด หมายถึง เครื่องทำการประมงซึ่งระบุชื่อลักษณะหรือวิธีใช้ในกฏกระทรวงและผู้ใช้เครื่องมือต้องได้รับอนุญาติ และเสียเงินอากรตามที่กำหนดไว้








ชื่อไทย : ช้อนสนั่น

ชื่ออังกฤษ : Boat Dip Net

ลักษณะ : เครื่องมือชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกันกับช้อนขาคีบแต่ใหญ่กว่ามากใช้ติดกับหัวเรือและมีไม้รองรับคันช้อนเพื่อช่วยลดกำลังให้เบาลง ในขณะที่งัดช้อนขึ้นจากน้ำ ปากช้อนกว้าง 7 – 8 เมตรขอบช้อนตอนเหนือมีด้ามยาวประมาณ 6 เมตรขนาดของช่องตาข่ายของช้อนนั้น 1.50 ซม.
ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาผิวน้ำ

แหล่งทำการประมง : แม่น้ำ ลำคลอง บึง หนอง



............+++++++++++++++++++++++++++++++++++












ชื่อไทย : ถุงโพงพาง

ชื่ออังกฤษ : Set Bag Net

ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนรูปถุง ปากอวนติดตั้งให้การรับสัตว์น้ำที่พัดตามกระแสน้ำเข้าถุงอวน โพงพางหลักเป็นโพงพางที่พบมากที่สุด อวนเป็นรูปถุงปากกว้าง ปากอวนสูงใกล้เคียงกับความลึกของน้ำช่วงขึ้นสูงสุดขนาดประมาณ 4x4 หรือ 8x6 เมตร ความยาวจากปากอวนถึงก้นถุง 20 - 25 เมตร ตัวอวนจะเรียวเล็กลงปากอวนจะวางในทิศทางหันรับกับกระแสน้ำ มักห่างกันตามขนาดปากอวน ราว 4-8 เมตร ด้านบนมีไม้คาดไว้กันไม้หลักเอนเข้าหากัน ปากอวนจะมัดกับเสาหลัก ส่วนตัวอวนจะกดไว้ด้วยไม้กด โดยไม่ใช้ทุ่นและตะกั่วถ่วง ส่วนเนื้ออวนเป็นโพลีเอทธีลีน ที่บริเวณปากจะมีขนาดใหญ่ที่สุด แล้วเล็กลงมาตามลำดับ ส่วนที่เป็นก้นถุงยาว 1.5 - 3 เมตร มักใช้ขนาดตา 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ปลายถุงสามารถเปิดออกได้โดยมัดเชือกไว้ การวางโพงพางจะทำหลายช่องเรียงกันเป็นแถวประมาณ 6 -10 ช่อง ทำได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ในช่วงน้ำขึ้นเต็มที่หรือลงเต็มที่โดยประกอบอวนเข้ากับไม้กดอวน แล้วนำไปผูกกับไม้หลัก แล้วจอดเรือไม้ที่ตำแหน่งก้นถุง รอให้กระแสน้ำพัดสัตว์น้ำเข้าอวนสักพักขึงกู้ก้นอวนขึ้นมา เทสัตว์น้ำออก แล้วมัดก้นถุงวางใหม่ต่อไป โพงพางจะใช้ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 1 -6 เมตร และสามารถทำได้ตลอดทั้งปี

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : กุ้ง ปู และปลาที่ชอบอยู่ในเขตน้ำกร่อย

แหล่งทำการประมง : ทะเลสาบ


+++++++++++++++++++++++++++++++++++






ชื่อไทย : ยอขันช่อ

ชื่ออังกฤษ : Bug Lift Net

ลักษณะ : เป็นเครื่องมือยอชนิดหนึ่งมีขนาดใหญ่โตกว่ายอธรรมดามาก การยกกว้านขึ้นลงจะอาศัยคานดีด ประกอบด้วยจุดหมุน ทำให้สามารถยกขึ้นโดยแรงของคน ๆ เดียว ลักษณะของเครื่องมือ เช่นเดียวกับยอทั่วไป คือ ประกอบเป็นเนื้ออวนที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคันยอและไม้กว้านใช้ทำการจับสัตว์น้ำ

.........วิธีการใช้จะนำเชือกคร่าวของอวนทั้ง 4 มุมผูกเข้ากับไม้แขวนยอ และกว้านให้ยอวางลงไปบนพื้นโคลนใต้น้ำ สังเกตปลาเข้าก็สาวเชือก ปลายไม้กว้านอีกด้านหนึ่ง กดให้ยอยกขึ้นพ้นน้ำ และทำการผูกเชือกไว้ให้แน่น ไม่ให้ยอตกลงน้ำ จากนั้นใช้สวิงตักสัตว์น้ำที่ตกอยู่ก้นอวน แล้วจึงแก้ปล่อยให้ยอวางลงดังเดิม

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลากระบอก กุ้งเปลือกขาว

แหล่งทำการประมง : บริเวณริมฝั่งของแม่น้ำลำคลองโดยทั่วไป ในน่านน้ำเค็ม กร่อย และจืด

+++++++++++++++++++++++++++++++++++













ชื่อไทย : ช้อนหางเหยี่ยว

ชื่ออังกฤษ : Raft Dip Net

ลักษณะ : มีลักษณะคล้ายช้อนสนั่น แต่เครื่องมือนี้ใช้แพเป็นพาหนะ

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาผิวน้ำ

แหล่งทำการประมง : แม่น้ำ ลำคลอง บึง หนอง

+++++++++++++++++++++++++++++++++++





ช้อนต่างๆ ปากกว้างตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป


ชื่อไทย : ช้อนกลม

ชื่ออังกฤษ : Shrimp Dip Ne

ลักษณะ : เครื่องมือชนิดนี้เป็นช้อนชนิดหนึ่ง ขอบทำด้วยไม้ไผ่ขดเป็นวงรีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 – 80 ซม. ด้านล่างมีเนื้ออวน ใช้ทำการช้อนกุ้งตามริมตลิ่งโดยทั่วไป ชาวประมงจะทำการดำน้ำช้อนกุ้งตามเสาเรือนก็มี

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : กุ้ง และสัตว์น้ำที่อยู่ริมตลิ่ง

แหล่งทำการประมง : ใช้ในน่านน้ำเค็มและน้ำจืด


+++++++++++++++++++++++++++++++++++










ชื่อไทย : ช้อนคอก


ชื่ออังกฤษ : Boat Bag Net


ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประเภทตาข่าย มีรูปเป็นถุง ปากถุงใช้ไม้ทำเป็นขอบสี่เหลี่ยมและมีเชือกผูกทั้งสี่มุม กรอบด้านกว้างๆประมาณ 2 เมตร ด้านยาว 4 เมตร ก้นถุงลึก 6 เมตร ขนาดของตาอวน 4 ซม
...........วิธีการใช้เครื่องมือนั้น ใช้เรือ 1 ลำ ชาวประมงจำนวน 2 คน คนท้ายทำหน้าที่แจวเรือทวนน้ำ คนหัวเรือลากถุงช้อนคอกให้ถุงจมอยู่ใต้น้ำ แล้วยกถุงขึ้นดูเป็นคราวๆ


ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : จับกุ้งได้เป็นส่วนมาก


แหล่งทำการประมง : ทะเลสาบ



............++++++++++++++++++++++++++++++++++++











ชื่อไทย : ช้อนลาก

ชื่ออังกฤษ : Beach Dip Net

ลักษณะ : เครื่องมือช้อนลากชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายเปลญวน ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 10 เมตร ก้นถุงช้อนลึก 1.50 เมตร ขนาดช่องตา 3 ซม. ขอบช้อนด้านกว้างมีไม้ผูกติดสำหรับเอาเชือกผูกติดในขณะที่ทำการลาก

..........วิธีการใช้เครื่องมือนั้นใช้คน 3 – 4 คน ลากช้อนเขาหาตลิ่ง

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลากด ปลาดุก ปลาตะเพียนเป็นส่วนมาก

แหล่งทำการประมง : แม่น้ำ และลำคลองต่างๆ


............++++++++++++++++++++++++++++++++++










ชื่อไทย : ช้อนพาย

ชื่ออังกฤษ : Dip Net

ลักษณะ : เครื่องมือชนิดนี้ทำด้วยไม้ไผ่ ถุงถักด้วยด้ายหรือป่าน ยาว 2 เมตร ปากถุงกว้าง 85 ซม. ถุงลึก 2 เมตร ตากว้าง 3 ซม
..........วิธีการใช้เครื่องมือนั้นใช้คนๆเดียวถือช้อนพายนั่งอยู่บนร้านข้างตลิ่งและพายไปมา

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาสร้อย ปลาเนื้ออ่อน ลูกปลาสวาย


แหล่งทำการประมง : แม่น้ำ ลำคลองต่างๆ

+++++++++++++++++++++++++++++++++










ชื่อไทย : ช้อนขาคีม

ชื่ออังกฤษ : Boat Dip Net

ลักษณะ : เครื่องมือชนิดนี้ถักด้วยด้ายเป็นตาข่าย ขนาดตา 4 ซม. ผืนตาเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ก้นถุงลึก 4.50 เมตร ด้ามถือใช้ไม้ไผ่ 2 อัน อันหนึ่งยาว 4 เมตร ผูกไขว้กันระหว่างกึ่งกลางเป็นรูปกรรไกรแล้วผูกขึงผืนตาข่ายติดกับไม้ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นที่สำหรับถือ

..........วิธีใช้เครื่องมือนั้น ใช้เรือ 1 ลำ ชาวประมง 2 คน คนหนึ่งทำการพายเรือทางท้ายทวนกระแสน้ำไปเรื่อยๆ ส่วนคนที่อยู่หัวเรือก็จีบช้อนขาคีมกดให้ปากช้อนลงในน้ำและยกขึ้นดูเป็นคราวๆ

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาตะเพียน ปลากา ปลากด

แหล่งทำการประมง : แม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งที่มีน้ำไหล


+++++++++++++++++++++++++++++++++++









ชื่อไทย : เรือผีหลอก

ชื่ออังกฤษ : Simple Catching Boat

ลักษณะ : ท้องเรือค่อนข้างแบน และกราบเรือเมื่อลอยอยู่ในน้ำจะสูงจากระดับน้ำ ไม่มากนัก กราบเรือด้านหนึ่งติดแผ่นกระดานทาสีขาวและวางให้เอียงลาดลงน้ำ อีกด้านหนึ่งของกราบเรือนั้นขึงตาข่าย เป็นแนวยาวตลอดลำเรือและให้ขอบสูงจากกราบเรือประมาณ 1 เมตร ใช้เป็นเรือประมงน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง
..........วิธีใช้เรือชนิดนี้ หาปลา คือ พายเรือออกหาปลาในเวลากลางคืน เมื่อปลาเห็นแผ่นกระดานสีขาวท่ามกลางความมืดปลาจะตกใจกระโดดข้าม แต่ก็ไม่พ้นเพราะถูกตาข่ายกั้นไว้ปลาจะตกลงไปในท้องเรือ นับเป็นวิธีหาปลาง่าย ๆ วิธีหนึ่ง และที่เรียกว่าเรือผีหลอกนั้นเป็นเพราะ ส่วนหนึ่งของเรือทาสีขาวโพลน แล่นในเวลากลางคืน และสามารถหลอกปลาให้ตกใจกระโดดลงไปในเรือได้ พื้นที่ที่ยังเห็น

ชนิดของสัตว์น้ำที่หาได้ : ปลาผิวน้ำทั่ว ๆ ไป

แหล่งทำการประมง : ในแม่น้ำลำคลองเวลากลางคืน



............+++++++++++++++++++++++++++++++++++








ชื่อไทย : ถุงบาม

ชื่ออังกฤษ : Big Lift Net

ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ใช้จับปลากระบอกบริเวณชายฝั่ง มีลักษณะคล้ายยอขนาดใหญ่ แต่ไม่มีคันยอ และปูผืนอวนไว้ที่พื้นทะเล รอเวลาให้ปลากระบอกเข้ามาบริเวณศูนย์กลางของผืนอวน แล้วยกขอบอวนทั้ง 4 ด้าน ให้พ้นผิวน้ำ จำนวนคนที่ใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางเครื่องมือ บามจะมี 2 แบบ คือ แบบมีถุง และไม่มีถุง บามที่ใช้ในทะเลสาบสงขลาเป็นบามแบบไม่มีถุง ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่ง ห่างฝั่ง 10 - 50 ม น้ำลึก 1.50 - 3 .00ม. ประกอบด้วยร้านนั่ง หรือร้านบาม ทำด้วยเสาไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 - 30 ซม. ยาว 10 - 16 ม. ปักติดกับพื้นคลองเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดพื้นทีประมาณ 3 x 3 ม. หรือใช้เพียง 2 ต้น แล้วใช้ไม้ยึดให้แข็งแรง ด้านใกล้ฝั่งใช้ไม้ทำเป็นขั้นบันได ด้านบนสุดมุงด้วยทางมะพร้าว ถัดลงมามีไม้พื้นปูเป็นที่นั่ง ใต้ที่นั่งมีกว้านไม้แบบมือหมุน 1 อัน และไม้พาดสำหรับยืนหมุนกว้าน ร้านนั่งจะยึดให้แข็งแรง โดยใช้เชือกผูกโยงกับเสาทั้ง 4 ต้น แล้วนำไปยึดกับหลักที่ปักห่างออกไปเล็กน้อย มีปีกทำด้วยหลักไม้และเศษอวนหนึ่งปีกอยู่ด้านในระหว่างริมฝั่งกับร้าน การทำประมงในเวลากลางวันช่วงน้ำขึ้นโดยชาวประมงประกอบอวนเข้ากับคันบาม แล้วจับคันบามและผืนอวนทั้งหมดไว้ที่พื้น ขึ้นไปนั่งเฝ้าดูฝูงปลาบนร้าน รอเวลาจนกว่าฝูงปลากระบอกว่ายมาที่กึ่งกลางผืนอวน จึงกว้านหรือฉุดเชือกผูกมุมอวนด้านใน เพื่อยกขอบอวนทั้ง 4 ด้าน สูงพ้นผิวน้ำประมาณ 1 ม. ทำให้ปลาหนีออกไปไม่ได้จากนั้นจึงลงจากร้านนั่ง เพื่อกู้อวนและตักปลาใส่เรือ เสร็จแล้วทำซ้ำใหม่แบบเดิม

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลากระบอก

แหล่งทำการประมง : บริเวณชายฝั่ง


............+++++++++++++++++++++++++++++++++++








ชื่อไทย : แหยาว4เมตรขึ้นไป(ไม่นับทบเพลา)

ชื่ออังกฤษ : None pocket Cast Net

ลักษณะ : เป็นแหที่ด้านล่างไปรั้งขึ้นมาเป็นกระเป๋าแบบแหทั่วไปเหมาะสำหรับทอดจับปลาในน้ำตื้นๆ โดยทำการเหวี่ยงคลุมเอาไว้ แล้วใช้มือคลำจับภายหลัง

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำตื้น

แหล่งทำการประมง : ริมคลอง ชายหาดทราย หรือท่าเทียบเรือ



............+++++++++++++++++++++++++++++++++++










ชื่อไทย : เฝือก

ชื่ออังกฤษ : Bamboo Screen

ลักษณะ : เป็นเครื่องจักรสานชนิดหนึ่ง ใช้ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าเหลาเป็นซีกขนาดใหญ่เท่ากับก้านตับจากมุงหลังคาหรือใหญ่กว่านี้เล็กน้อย แล้วยกหรือกรองด้วยหวายเป็นแผง ๆ แผงหนึ่งตามปกติยาวประมาณ 8-10 เมตร ขนาดสูงของเฝือกนั้นสุดแท้แต่ผู้ที่ต้องการใช้ในสถานที่น้ำลึกเท่าใด ถ้าใช้ในสถานที่น้ำลึกมากก็ใช้ขนาดสูงมาก ในสถานตื้นก็ต่ำลงมาตามส่วน


ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลากะบอก กุ้ง ปลากะพง

แหล่งทำการประมง : บริเวณที่มีน้ำขึ้นน้ำ



............+++++++++++++++++++++++++++++++++++







อวนต่างๆ








ชื่อไทย : อวนรุน


ชื่ออังกฤษ : Push Nets


ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ จับสัตว์น้ำโดยวิธีผลักด้วยแรงคน/เครื่องยนต์


ชนิด: อวนรุนใช้เรือกล อวนรุนไม่ใช้เรือกล (ระวะ/รุนเคย/ชิป/ไสกุ้ง)

..........- อวนรุนใช้เรือกล หมายถึง อวนรุนที่ใช้เรือกลผลักดันเครื่องมืออวนให้เคลื่อนที่ขณะทำการจับสัตว์น้ำ (แบบรุนกุ้ง/แบบรุนเคย)
..........- อวนรุนไม่ใช้เรือกล หมายถึง อวนรุนที่ไม่ใช้เรือกลผลักดันเครื่องมืออวนให้เคลื่อนที่ขณะทำการจับสัตว์น้ำ แต่ใช้แรงคนแทน(แบบรุนกุ้ง/แบบรุนเคย)

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : สัตว์ที่อยู่พื้นน้ำ

แหล่งทำการประมง : ทะเล

+++++++++++++++++++++++++++++++++++








ชื่อไทย : อวนช้อน/อวนยก

ชื่ออังกฤษ : Lift Nets

ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้ผืนอวนที่มีลักษณะและรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม/กลม จับสัตว์น้ำโดยการวางอวนทิ้งไว้ในแนวดิ่ง/แนวราบ และจะยกหรือดึงอวนขึ้นทันที่เมื่อต้องการจับสัตว์น้ำ หลักการ คือ ใช้เครื่องมือล่อลวง เช่น เหยื่อล่อ ซั้งล่อ แสงไฟล่อ

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาผิวน้ำ

แหล่งทำการประมง : แม่น้ำ บึง ลำคลอง ทะเลสาบ




............+++++++++++++++++++++++++++++++++++






ชื่อไทย : อวนกางกั้นแล้วลาก

ชื่ออังกฤษ : Seine Nets

ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประมงที่ปล่อยอวนกางกั้นสัตว์น้ำ แล้วทำการฉุด ลากปลายสุดของผืนอวนข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างเข้าหาฝั่งหรือเรือ

..........หลักการ คือ ใช้วิธีล้อม และลากผสมกันในไทย เป็นแบบลากเข้าหาชายหาดด้วยแรงคน

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลากะตัก เคย ปลากระบอก ปลาแป้น ปลาข้างเหลือง

แหล่งทำการประมง : เขตน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณชายหาด ลึก 1-3 เมตร


+++++++++++++++++++++++++++++++++++





ชื่อไทย : อวนติดตา

ชื่ออังกฤษ : Gill Nets

ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้จับสัตว์น้ำโดยการวางขวางหรือปิดล้อมสัตว์น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำว่ายชนแล้วติดหรือพันตาอวน หลักการ คือ เรียกว่า ข่าย/อวนลอย/อวนจม/กัด/อวนล้อมติด/อวนติด ชาวประมงพื้นบ้านนิยมใช้มากที่สุด

ประสิทธิภาพ: ความยาวอวน ขนาดตาอวน ความลึกอวน และอัตราย่นของเนื้ออวน

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาอินทรี ปลากะพงขาว ปู กุ้ง ปลาทู



+++++++++++++++++++++++++++++++++++






ชื่อไทย : อวนลาก

ชื่ออังกฤษ : Trawl Nets

ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ใช้วิธีการจับสัตว์น้ำโดยการใช้เรือลากจูงอวนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

ชนิด: อวนลากคู่ อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง

..........อวนลากคู่ อวนลากที่ใช้เรือสองลำช่วยถ่างปากอวน

..........อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากที่ใช้แผ่นตะเฆ่ช่วยถ่างปากอวน อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก: อวนลากแคระ/อวนลากกุ้ง ชนิดอวนที่ใช้: อวนลากปลา อวนลากกุ้ง อวนลากเคย อวนลากแมงกะพรุน

.......... อวนลากคานถ่าง อวนลากที่ใช้คานช่วยถ่างปากอวน ชนิดในประเทศไทย คือ

อวนลากคานถ่างแบบลากกุ้ง/อวนลากข้าง/อวนลากแขก

อวนลากคานถ่างแบบลากแมงกะพรุน/อวนลากจอหนัง

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาหน้าดิน ปลาผิวน้ำและหมึกแหล่งทำการประมง : จับสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณพื้นทะเลหรือเหนือพื้นทะเลชนิดสัตว์น้ำทั้งแบบอยู่รวมกัน เป็นฝูง/แพร่กระจายบริเวณกว้าง

แหล่งทำการประมง : บริเวณพื้นทะเลหรือเหนือพื้นทะเล

+++++++++++++++++++++++++++++++++++







ชื่อไทย : อวนล้อมจับ

ชื่ออังกฤษ : Surrounding Nets

ลักษณะ : เป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลักการ คือ ใช้วิธีปล่อยผืนอวนล้อมรอบสัตว์น้ำเป็นวงกลมหรือรูปไข่เพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนที่ของสัตว์น้ำในแนวราบ ส่วนในแนวดิ่งใช้ความลึกของอวนสกัดกั้นตัดหน้าฝูงสัตว์น้ำ ปิดด้านล่างของผืนอวน ทำการกู้อวนแล้วตักสัตว์น้ำขึ้นเรือ

ชนิด: อวนล้อมจับมีสายมาน และอวนล้อมจับไม่มีสายมาน

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาม้า ปลาหางกิ่ว ลากะพงขาว

แหล่งทำการประมง : ริมฝั่งแม่น้ำในน่านน้ำกร่อย


+++++++++++++++++++++++++++++++++++







ชื่อไทย : ข่าย

ชื่ออังกฤษ : Set Gill N

ลักษณะ : เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ค่อนข้างยาวจาก 80-100 เมตร ลึก 2-3 เมตร มีขนาดตาใหญ่ 5-8 ซม. ตอนเชือกคร่าวบนนั้นโดยมากใช้ผักตบชวาทำเป็นทุ่นพยุงให้ลอยอยู่ได้ ส่วนทางด้านล่างนั้นบางแห่งก็ใช้ตะกั่วหรือบางแห่งก็ไม่ใช้
..........วิธีการใช้งาน ใช้ปักขึงหัวท้ายในสถานที่ซึ่งไม่มีเรือสันจรไปมาตามหนองบึง เมื่อปลาว่ายน้ำมากระทบก็จะติดอวน

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์ ปลากระสูบ ปลาตะโกก ฯลฯ

แหล่งทำการประมง : ริมแม่น้ำ


+++++++++++++++++++++++++++++++++++









ชื่อไทย : เบ็ดราว

ชื่ออังกฤษ : Baited Set Line

ลักษณะ : เครื่องมือชนิดนี้ประกอบด้วยเส้นเชือก หรือสายลวดทำเป็นสายคร่าวเบ็ด ยาวตามความต้องการ ที่พบใช้กันในน่านน้ำจืดนั้น มีความยาวประมาณ 100 – 200 เมตร ถ้าใช้ในน่านน้ำเค็มแล้วยาวถึง 1,000 เมตรหรือยาวกว่านั้นก็มี เขาใช้เบ็ดเบอร์ 4 – 8 หรือเล็กกว่านี้ก็ได้สุดแท้แต่จะทำการจับปลาชนิดใด ผูกตัวเบ็ดสายทิ้งยาวประมาณ 20 – 40 ซม. ตามจำนวนตัวเบ็ดที่ต้องการ แล้วทำการผูกกับสายคร่าวเบ็ดเป็นระยะห่าง 40 – 50 ซม. อีกทีหนึ่ง
..........วิธีการใช้เครื่องมือนั้น ทำการวางทอดขวางกระแสน้ำของหนอง บึง แม่น้ำ ลำคลองหรือทะเล โดยผูกปลายเชือก สายคร่าวเบ็ดทั้งลองด้านปักไว้ บางรายก็จมคร่าวกับพื้นดิน ด้วยการใช้ของหนักถ่วง มีทุ่นลอยเป็นเครื่องหมาย ทั้งนี้ย่อมสุดแท้แต่ความประสงค์ของผู้ใช้เครื่องมือ และต้องการจับปลาชนิดใด

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ในน่านน้ำจืดจับได้ปลาชะโด ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาเค้า ปลากราย ในน่านน้ำทะเลก็จับได้ปลาฉลาม กะเบน ฉนาก ปลาหางกิ่วแหล่ง

ทำการประมง : น่านน้ำเค็มและน่านน้ำจืด

บันไดปลาโจน

บันไดปลาโจน



























































..........ปัจจุบัน บันไดปลาในประเทศไทยมีอยู่ 4 แห่ง คือ กว๊านพะเยา หนองหาน บึงบอระเพ็ด และเขื่อนปากมูล การ ก่อสร้างบันไดปลาในประเทศไทยได้มีการถกเถียงกันระหว่างนักวิชาการ 2 กลุ่มแรกคือ พวกที่ต้องการให้สร้างบันไดปลา และไม่ต้องการสร้างเพราะเห็นว่าไม่จำเป็น โดยทั้งสองฝ่ายได้ให้เหตุผลโต้แย้งซึ่งกันและกัน และในที่สุดก็ปรากฎว่ากลุ่มที่ไม่ต้องการสร้างจะเป็นฝ่ายชนะทุกครั้งไป อันที่จริงแล้วปลาและสัตว์น้ำในประเทศไทยนี้ มีการอพยพย้ายถิ่นแต่ระยะการเดินทางไม่ไกลและการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยไม่เห็นเด่นชัดอย่าง เช่น ปลาแซลมอนในต่างประเทศการเดินทางเท่าที่ปรากฎมักจะเดินทางไป - มา ระหว่างลำคลอง หนองบึงต่างๆ ที่ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันได้ เพื่อแสวงหาแหล่งวางไข่อันเหมาะสม และแหล่งหากินอันอุดมสมบูรณ์ กว่าที่มีอยู่เดิมซึ่งที่สุดจะนำมาซึ่งผลผลิตของสัตว์น้ำที่สูงกว่า ที่จะถูกกักไว้ในบริเวณอันจำกัด จุดที่ฝ่ายต้องการให้สร้างจะแพ้อยู่เสมอก็คือ การขาดความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับบันไดปลา และการอพยพย้ายถิ่นของปลาปรากฎว่าความรู้ที่นำมาใช้อ้างอิงมักเป็นความรู้เรียนมาทางทฤษฎีเท่านั้น หาได้มีข้อมูลในทางปฏิบัติอันเกิดจากการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจังไม่ และประกอบกับราคาก่อสร้างบันไดปลาสูงมากย่อมยากแก่การตัดสินใจลงทุน





















































..........บันไดปลาที่ถูกสร้างขึ้นมีความต้องการที่จะช่วยให้ปลาและสัตว์น้ำอย่างอื่น สามารถเดินทางผ่านสิ่งกีดขวางทางเดินไปได้ เช่น ในกรณีการสร้างเขื่อนปิดกั้นลำน้ำที่ปลาและสัตว์น้ำมีการเดินทางหรือไม่ก็ กรณีที่ปลาต้องการเดินทางผ่านหน้าผา น้ำตก ให้ขึ้นไปหาที่ผสมพันธุ์หรือวางไข่ได้

..........ปลาเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ซึ่งคนไทยใช้บริโภคเป็นอาหารหลักชนิดหนึ่งตลอดมา ธรรมชาติของปลาโดยทั่วไปจะมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่เช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ การอพยพของปลาเกิดจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน เช่น เพื่อหาแหล่งอาหารเพื่อผสมพันธุ์ เพื่อวางไข่ และหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเป็นต้น ดังนั้นในกรณีที่เส้นทางการอพยพ ถูกปิดกั้น เช่น จากการสร้างเขื่อน นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นหาวิธีการที่จะช่วยอนุรักษ์พันธุ์ปลาให้ผ่านสิ่งกีดขวางไปได้ ในบรรดาทางผ่านของปลาที่นิยมก่อสร้างกันมาก คือ บันไดปลา (Fish Ladder หรือ Fish Way) คือ สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ปลาสามารถว่ายน้ำขึ้นล่องผ่านเขื่อน หรือโตรกผาตามธรรมชาติที่กีดขวางทางสัญจรตามชีพจรของปลาได้อันประกอบด้วยสะพานน้ำที่แบ่งเป็นขั้นตอนหรือห้วงน้ำเล็กๆ เรียงติดต่อกันไปตามระดับเชิงลาดจากสันเขื่อนลาดต่ำลงสู่ระดับน้ำด้านท้ายน้ำจากการศึกษาของกรมประมงพบว่า การก่อสร้างเขื่อนชัยนาทมีผลกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเคยมีความผูกพันธุ์หลากหลายด้วยพันธุ์ปลา กุ้ง และสัตว์น้ำอื่นๆ ในอดีตให้ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำสำหรับในประเทศไทยก็มีบันไดปลาโจนอยู่ 4 แห่งด้วยกันคือ ที่กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ที่หนองหาน จังหวัดสกลนคร ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์และที่เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี





..................รูปที่ 1 แสดงน้ำไหลผ่านฝ่ายน้ำลัน


1. การอพยพของปลา
(The Migrations of Fishes)การอพยพเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของปลาเช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ซึ่งหมายถึงการปรับตัวครั้งสำคัญของปลา เพื่อเสาะหา สภาพแวดล้อมอันเหมาะสมกับความต้องการของชีวิตในช่วงนั้นๆ เพื่อเป็นหลักประกันความอยู่รอดทั้งตนเองและของลูกที่เกิดตามมาในอนาคต ดังนั้นการอพยพจึงเปรียบเสมือนสายในที่เชื่อมโยง "ช่วงชีวิต" แต่ละช่วงในชีพจักรของปลา ให้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน

1.1 วงจรของการเดินทางหรืออพยพย้ายถิ่นของปลามักประกอบด้วยวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้
1) การเดินทางเพื่อวางไข่ (Spawning Migration) หมายถึงการเดินทางจากถิ่นเดิมอันเป็นเแหล่งหากินหรือแหล่ง หลบหนาวไปสู่แหล่งวางไข่
2) การเดินทางเพื่อหากิน (Feeding Migration) เป็นการเดินทางจากแหล่งวางไข่หรือแหล่งหลบหนาวไปสู่แหล่งหา กิน
3) การเดินทางเพื่อหลบหนาว (Wintering Migration)
4) เดินทางหลบหนีมลภาวะ เช่น หนีน้ำเสีย หรือหนีน้ำเค็ม

1.2 ลักษณะของการอพยพเดินทางสำหรับการอพยพย้ายถิ่น (Migration) ของปลาได้มีการจำแนกตามลักษณะของการอพยพเดินทางไว้ดังนี้ก. การเดินทางประจำฤดูกาล (Local and Seasonal Move - Ment) หมายถึง การเดินทางเพื่อเปลี่ยนถิ่นเฉพาะในฤดูกาลหนึ่งๆ ซึ่งมีอาณาบริเวณการเดินทางไม่กว้างไกลนัก เช่น เดินทางจากฝั่งด้านตะวันออกของทะเลสาบไปสู่ฝั่งตะวันตกเป็นต้นข. การแพร่กระจาย (Dispersal) หมายถึง การเดินทางร่อนเร่ไปโดยไร้จุดหมาย ถึงทางอันแท้จริงโดยอาจจะมีเส้น ทางประจำหรือไม่ก็ได้ค. การอพยพย้ายถิ่นที่แท้จริง (True Migration) หมายถึง การเดินทางเพื่อหากินและการผสมพันธุ์ โดยมีแหล่งหา กินอยู่ในถิ่นหนึ่ง แต่เมื่อจะผสมพันธุ์จะต้องกลับไปยังถิ่นที่เคยอยู่ อย่างที่เห็นได้ชัดคือ ปลาแซลมอล ปลาเทราท์ การอพยพที่แท้จริงของปลาสามารถแบ่งแยกเป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้1) Diadromous คือ ปลาที่มีการอพยพเดินทางไปมาระหว่างทะเลกับน่านน้ำจืด แบ่งออกเป็น- Anadromous คือ ปลาที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินอยู่ในทะเลแต่ต้องอพยพเข้าสู่น่านน้ำจืดเพื่อการผสมพันธุ์และการ วางไข่ ปลาประเภทนี้ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาตะลุมพุก (Hilsa loli) และปลาปากกลม- Catadromous คือ ปลาที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินอยู่ในน้ำจืด แล้วอพยพออกสู่ทะเลเพื่อวางไข่ เช่น ปลาไหลทะเล(Anquila anquilla) ในประเทศไทยเราก็มีอยู่ชนิดหนึ่งทางภาคใต้คือ ปลาตูหนา (Anquila australis)- Amphidromous คือ ปลาที่อพยพไป - มาระหว่างทะเลแลน้ำจืด แต่การอพยพย้ายถิ่นนั้นไม่ใช่เพื่อไปผสมพันธุ์ หรือวางไข่ แต่จะเกิดเฉพาะในส่วนหนึ่งของชีพจรเท่านั้น2) Potamodromous คือ ปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นจำกัดอยู่เฉพาะในน่านน้ำจืดนั้น3) Oceanodromous คือ ปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นจำกัดอยู่เฉพาะในทะเลเท่านั้น

1.3 การอพยย้ายถิ่นของปลาในประเทศไทยการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากเทียบกับต่างประเทศแล้วนับว่าน้อยมาก สืบเนื่องมาจากการมองข้ามสิ่ง เหล่านี้ไปของนักวิชาการประมง จากบทความของเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ (2521) ได้รายงานว่า ปลาฉนาก (Pristis cupidatus) เป็นปลาทะเลซึ่งพบว่าขึ้นไปถึงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ปลากระเบนน้ำจืด (Dasvabatus bleeken) เป็นปลาทะเลมี ผู้พบบ่อยๆ ตามแม่น้ำที่มีส่วนติดต่อกับทะเล ปลาตะลุมพุก (Hilsa toli) ปลาชนิดนี้ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล แต่มักพบ เสมอแถบโรงงานสุราบางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร ปลาโดกหรือปลาตะเพียนน้ำเค็ม (Namatolosa nasus) เป็นปลาทะเลที่ มักอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในแม่น้ำเป็นครั้งคราว ปลาสะพัด (Scleropages Formosus) พบว่าอาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลองใน จังหวัดตราด บางครั้งก็พบในทะเล จึงเชื่อว่าเป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นระหว่างน้ำจืดกับทะเลอีกชนิดหนึ่ง ปลาตะพัดเป็นปลาในยุคโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงชนิดเดียวในประเทศไทย สัตว์อื่นๆ นอกจากปลาแล้ว กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergil) มีการอพยพย้ายถิ่นน่านน้ำจืดออกสู่ปากน้ำที่มีน้ำกร่อย เพื่อวางไข่ลูกกุ้งวัยอ่อนจะอาศัยเลี้ยงตัวอยู่ในบริเวณปากน้ำระยะหนึ่งจนกระทั้งเจริญเติบโตถึงระยะหนึ่งแล้วจึงจะเดินทางขึ้นสู่ตอนเหนือของแม่น้ำที่มีน้ำจืดสนิท และเมื่อจะวางไข่ก็จะเดินทางล่วงลงมาสู่บริเวณปากน้ำอีกครั้งหนึ่งนอกจากพฤติกรรมในรูปแบบของการอพยพย้ายถิ่นแล้ว เชื่อว่าปลาในประเทศไทยยังมีการเดินทางภายในน่านน้ำจืดอีกด้วยเช่น การเดินทางจากแม่น้ำหนึ่งไปยังอีกแม่น้ำหนึ่ง หรือจากแม่น้ำเข้าสู่หนองบึง หรือในการกลับกันก็ดี สำหรับผู้มีบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำคงจะเคยได้ยินพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเล่าเรื่องการจับปลาในฤดูน้ำหลาก และน้ำลดอันสนุกสนาน ปลานานาชนิดที่ เดินทางทวนกระแสน้ำขึ้นเหนือนั้น ส่วนมากจะเดินทางออกจากหนองบึงลงสู่แม่น้ำ หรือจากแม่น้ำเข้าสู่หนองบึง ทั้งนี้เพื่อเสาะแสวงหาแหล่งวางไข่อันเหมาะสมหรือตามความต้องการ ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามชนิดของปลา ครั้นล่วงมาถึงปลายฤดูหนาวน้ำเริ่มจะลดระดับปลาในหนองบึงต่างๆ จะถอยร่นลงสู่แม่น้ำเป็นฝูงใหญ่ๆ ก่อนที่น้ำในหนองบึงจะลดแห้งขอด พฤติกรรมเช่นนี้ของปลาก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเดินทางได้ทั้งสิ้น











รูปที่ 2 แสดงน้ำไหลผ่านรูระบาย




2. คุณสมบัติ ส่วนประกอบและการออกแบบบันไดปลาบันไดปลาเป็นสิ่งก่อสร้างเพื่อการเดินทางอพยพของปลาผ่านสิ่งกีดขวาง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์ปลา บันไดปลาจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบและก่อสร้าง ที่จะต้องสอดคล้องกับอุปนิสัยของปลาที่จะใช้ ส่วนมากแล้วบันไดปลาที่ถูกสร้างจะให้ผลไม่ได้ดี เพราะขาดการศึกษาข้อมูลที่เหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น

2.1 คุณสมบัติเบื้องต้นของบันไดปลา
2.1.1 จะต้องเหมาะสมกับชนิดของปลาที่มีอยู่ในแหล่งน้ำนั้นๆ เพื่อให้ปลาที่มีอยู่ส่วนใหญ่สามารถว่ายผ่านเขื่อนหรือสิ่งกีดขวางไปได้โดยสะดวก
2.1.2 ต้องเป็นแบบที่ใช้การได้กับระดับน้ำที่บริเวณเหนือเขื่อนและใต้เขื่อนทุกระดับ ไม่ว่าระดับน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลมาก - น้อยเพียงไรก็ตาม2.1.3 ไม่ว่าปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านบันไดปลา จะมากหรือน้อยเท่าใดก็สามารถใช้ได้ผลเสมอ
2.1.4 ต้องเป็นแบบที่สามารถว่ายผ่านได้โดยไม่บาดเจ็บหรือบอบช้ำมากนัก
2.1.5 ปลาสามารถหาทางเข้าบันไดปลาได้โดยง่ายปราศจากอาการรีรอหรือหลงทาง

2.2 ส่วนประกอบที่สำคัญของบันไดปลา
2.2.1 ทางเข้า (Fish Entrance) เป็นส่วนแรกของการเข้าสู่บันได ซึ่งความสูงของน้ำที่ตกลงไม่ควรเกิน 1ฟุต เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของปลาที่จะเดินทางเข้ามาสู่บันไดแผ่นกั้นช่องทางเข้ามีอยู่ 3 แบบคือ1) Weirs2) Orifices และ3) Slots ดังรูปที่ 1, 2, 3
2.2.2 ทางผ่าน (Fish Passages) เป็นช่องทางผ่านของปลาระหว่างการเดินทาง
2.2.3 ทางออก (Fish Exitts) เป็นส่วนสุดท้ายที่ปลาจะออกจากบันไดไปสู่ด้านเหนือน้ำ ในการออกแบบต้องคำนึงถึง
1) สามารถควบคุมปริมาณการไหลของน้ำในรางบันไดได้
2) สามารถควบคุมปริมาณน้ำไหลเข้าสู่บันไดได้ ระหว่างเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทางด้านเหนือน้ำ
3) สามารถป้องกันการติดค้างของพวกเศษขยะ, สวะ ฯลฯ ได้
2.2.4 น้ำล่อปลา (Auxiliary Water Supply) เพื่อความประสงค์ที่จะดึงดูดความสนใจของปลาให้เดินทางเข้าสู่บันไดปลา ทั้งนี้น้ำล่อปลาจะต้องไหลเทลงตรงส่วนด้านทางเข้าของบันไดปลาดังรูปที่ 4

2.3 การออกแบบบันไดปลาการออกแบบบันไดปลานั้น จำเป็นจะต้องมีความรู้หลายด้านด้วยกัน อาทิเช่น การประมง วิศวกรรมและชีววิทยาประกอบกันมีหลักการออกแบบดังนี้
2.3.1 ต้องทราบอุปนิสัยและชีวประวัติบางประการของปลาที่จะใช้บันไดปลา อาทิเช่น ความสามารถในการ ว่ายน้ำ ขนาดของตัวปลา ฤดูที่ปลาอพยพเดินทางและชนิดของปลา ซึ่งจะต้องทำการศึกษาให้ละเอียดเพื่อผลทางการออกแบบ บันไดปลา
2.3.2 ขนาด สัดส่วนของบันไดปลา อันได้แก่ ความกว้าง ความลึก และความยาว ซึ่งจะต้องพิจารณาเงื่อนไขดังต่อไปนี้ก) จำนวนของปลาที่คาดหมายไว้ว่าจะให้ผ่านบันไดปลาข) ปริมาณน้ำที่ผ่านบันไดปลา



...........................ค) ความสูงทั้งหมดของบันไดปลา


2.3.3 ความลาดเอียงของบันไดปลา (Slope) ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและชนิดของปลา ได้เคยมีการศึกษาความลาดเอียงของบันไดปลาโจน มีตั้งแต่ 1 - 4 ถึง 1 - 30 ในการออกแบบต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่นความสามารถของปลาในการผ่านบันไดปลา การบังคับความเร็วของกระแสน้ำ ความสูงของเขื่อนหรือสิ่งกีดขวางและสถานที่ก่อสร้าง
2.3.4 ชนิดของแผ่นลดความเร็ว เช่น Weirs, Orifices Slots
2.3.5 ความเร็วของกระแสน้ำในบันไดปลา Rousefell (1965) ได้ให้คำแนะนำว่าในการออกแบบความเร็วของกระแส น้ำ จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวควบคุมอยู่คือ1) ชนิดและขนาดของปลา2) ความสูงของเขื่อนหรือสิ่งกีดขวาง3) ระยะทางระหว่างห้วงพักปลาในบันไดปลา4) ขนาดและแบบของบันไดปลา
2.3.6 แบบทั่วๆ ไปของบันไดปลาที่นิยมคือ- แบบ Simple Sluice หรือ Inclined Chute เป็นแบบง่ายๆ คล้ายรางระบายน้ำ จะมีอุปกรณ์ลดความเร็วของ กระแสน้ำ หรือห้วงพักเหนื่อยของปลาไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ เหมาะสำหรับเขื่อนที่ไม่สูงนักและปลาที่มีขนาดเล็กเท่านั้น- แบบ Pool Type เป็นแบบที่นิยมใช้กันกว้างขวางกว่าแบบอื่นๆ ประกอบด้วยห้วงพักน้ำเรียงรายติดต่อกัน ที่ก้นราง อาจมีท่อระบายน้ำเล็กๆ เชื่อมต่อระหว่างแต่ละห้วงพักน้ำไว้ด้วยก็ได้ ใช้ได้ผลดีกับปลาที่แข็งแรง ว่องไว- แบบ Denil Type เป็นแบบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Pool Type แต่มีขนาดเล็กกว่าและการติดตั้งแผงลดความเร็วของน้ำผิดกันคือ แบบนี้ แผงลดความเร็วน้ำจะติดตั้งเอนไปข้างหน้าสู่กระแสน้ำ จะทำให้กระแสน้ำม้วนกลับลงเบื้องล่าง ช่วยลดความเร็วของน้ำในบริเวณนี้ปลาสามารถว่ายผ่านได้สะดวกขึ้น ใช้ได้ผลดีกับปลาแซลมอน- แบบ Fish Look ประกอบด้วยประตูบังคับน้ำที่ต้องอาศัยเครื่องจักรกลช่วยทุ่นแรงในการปฏิบัติงานเหมาะสำหรับเขื่อน สูงๆ ที่สร้างในเนื้อที่จำกัด- แบบ Deep Baffle Channel ช่วยให้ปลาสามารถเดินทางผ่านน้ำตกที่สูงชัน และกระแสน้ำไหลเชี่ยวจัดได้



2.3.7 วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติดี ไม่เกิดขอบคม เกิดซอกอับ จะทำให้ปลาได้รับบาดเจ็บหรือหลงทางและวัสดุประกอบการก่อสร้างควรจะคล้ายคลึงกับสภาพที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เพื่อที่ปลาจะไม่ตกใจจนไม่ผ่านบันไดปลา