วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ปลาปิรันย่า

ปลาปิรันยา (Serrasalmus spp.)





"ปิรันยา" เป็นปลาน้ำจืด สกุล "เซอร์ราซัลมัส" (Serrasaimas)
อยู่ในครอบครัว "คาราซิดี" (Characidae)
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้และแอฟริกา
ทั้งหมดมีอยู่ 25 ชนิด และ 4 ชนิดเท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์...!!




ชื่อไทย : ปลาปิรันยา หรือ ปิรันฮา

ชื่ออังกฤษ : Piranhas

ถิ่นที่อยู่อาศัย : มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้และอัฟริกา แหล่งของปลาปิรันยาที่ขึ้นชื่อได้แก่แม่น้ำ อเมซอน และโอริโนโก รูปร่างลักษณะ เป็นปลาที่มีความสวยงามพอสมควร เคยมีผู้ลักลอบสั่งเข้ามาเลี้ยงจนกระทั่งมีเรื่องราวเกิดขึ้นเพราะผิดกฎหมาย ลักษณะเด่นของมันคือ มีฟันอันคมกริบ เกร็ดเล็กละเอียด แวววาว เมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 20-30 ซ.ม

ลักษณะทั่วไป :ของปลาปิรันยาลำตัวแบนข้าง ส่วนท้องกว้าง (คล้ายปลาแปบหรือปลาโคกของไทย) บางชนิดมีจุดสีน้ำตาลและสีดำ บางชนิดข้างลำตัวส่วนล่างสีขาว, สีเหลืองและสีชมพู แล้วแต่ละชนิดแตกต่างออกไป เกล็ดบริเวณสันท้องเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อยจำนวน 24-31 อัน
.....มีอาวุธสำคัญ คือ "ฟัน" ที่มีแถวเดียวเป็นรูปสามเหลี่ยมและแหลมคมมาก สามารถกัดเนื้อให้ขาดได้อย่างง่ายดาย ริมฝีปากล่างยื่นออกมายาวมากกว่าริมฝีปากบน แต่เมื่อหุบปากจะปิดสนิทระหว่างกันพอดี ในอดีตชาว "อินเดียน" ใน "กิอานา" ได้ใช้เป็นอาวุธ โดยนำฟันของปิรันยามาทำเป็นใบมีดหรือหัวของลูกธนู

อุปนิสัย :เป็นปลาดุร้ายมาก นับว่าน่ากลัวมากทีเดียว ปิรันยามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เป็นร้อยหรือเป็นพันๆตัว เมื่อกินอาหาร จะใช้วิธีล่าเหยื่ออย่างหิวกระหาย โดยการพุ่งเข้าโจมตี อย่างรวดเร็ว แล้วรุมกัดแทะ แม้ว่าเหยื่อมี "ขนาดใหญ่เท่าช้าง" ฝูงปิรันยาก็ไม่เคยละเว้น แต่จะช่วยกัน รุมกัดกินจนเหลือ แต่กระดูก มันจึงถูกขนานนามว่า "เพชฌฆาตแห่งลุ่มน้ำจืด"

อาหาร :อาหารที่ปลาปิรันยาชอบคือเนื้อสด หากินรวมกันเป็นฝูง พุ่งเข้าโจมตีเหยื่ออย่างรุนแรง ฟันสามารถฉีกกัดเนื้อของเหยื่อ ให้เป็นแผลเหวอะหวะ ด้วยความรวดเร็ว

สถานที่ชม : สวนสัตว์เชียงใหม่















.....เนื่องจากปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วมาก ในพื้นที่เขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทยดังนั้นจึงเป็นอันตรายอย่างมาก หากสามารถหลุดรอดลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติได้...!!

.....ทั้งนี้ผู้ครอบครองปลาปิรันยาจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มาตรา 53 ที่กำหนดให้ปลาปิรันยา เป็นสัตว์ต้องห้ามนำเข้า ห้ามครอบครอง ห้ามนำไปปล่อยใน แหล่งน้ำ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1.2 แสนบาท

.....อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ปลาปิรันยา ถือเป็นปลาที่อันตราย ซึ่งหากมี การปล่อยลงตามแหล่งน้ำธรรมชาติอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรง จึงอยาก ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยกันสอดส่องดูแล หากพบมีการครอบครองปลาปิรันยา ให้รีบ แจ้งกรมประมงให้รับทราบทันที เพื่อดำเนินการตรวจสอบและจับกุมได้อย่างทันท่วงที

วัตถุมีพิษตามพระราชบัญญัติการประมง

วัตถุมีพิษ











......มาตรา 19 : ห้ามมิให้บุคคลใด เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ลงในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใดๆอันทำให้สัตว์น้ำมึนเมา หรือเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำ หรือทำให้สัตว์น้ำเกิดมลพิษ เว้นแต่เป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่











วัตถุมีพิษ หมายถึง




....."สารออกฤทธิ์หรือวัตถุที่มีสารออกฤทธิ์ผสมอยู่ด้วย และให้หมายความรวมถึงวัตถุมีพิษธรรมดาและวัตถุมีพิษร้ายแรง" แต่ในมาตรานี้เป็นวัตถุมีพิษตามรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจานุเบกษา





องค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับการทิ้งวัตถุในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำตามมาตรา 19 มีดังนี้



...... (1.)เท ทิ้ง ระบายหรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาลงไปในที่จับสัตว์น้ำ

...... (2.)กระทำการใดๆอันทำให้สัตว์น้ำมึนเมาในที่จับสัตว์น้ำ

...... (3.)เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อแก่สัตว์

...... (4.)หรือทำให้เกิดมลพิษ

...... (5.)เว้นแต่เป็นการเป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่





..........วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 20 มกราคม 2532 มี 12 ชนิด ซึ่งรวมทั้งสารที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นแต่มีสูตรโครงสร้างเดียวกัน โดยกำหนดความเข้มข้น 6 ชนิดและอีก 6 ชนิดกำหนดให้มีไม่ได้เลย ดังนี้

.....(1.) DDT อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm

.....(2.) Dieldrim อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm

.....(3.) Aldrin อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm

.....(4.) Heptachor ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm

.....(5.) Heptachor epoxide ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm

.....(6.) Carbofuran ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm

.....(7.) Endrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(8.) Chlorpyrifos กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(9.) Endosulfan กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(10.) Deltamethrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(11.) Sodiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย

.....(12.) Potassiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย





..........ความผิดตามมาตรานี้ ความผิดสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อมีการ เท ทิ้ง ระบายวัตถุมีพิษ หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ได้แก่ คลอง หนองบึง แม่น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุแห่งวัตถุที่ทิ้งนั้นว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ก็ตาม ก็มีความผิดตามมาตรานี้แล้ว

องค์การสะพานปลา

องค์การสะพานปลา
Fish Marketing Organization











.......ความเป็นมาของหน่วยงานในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวการณ์ประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้

.............- บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
.............- บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
.............- การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
.............- จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
.............- บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)
.............- บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ) จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


วิสัยทัศน์/แผนการดำเนินงาน

..........1.พัฒนาตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำให้เข้าสู่ระบบ ISO 9002 และ ISO 14000
..........2.สนับสนุนระบบการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำด้วยวิธีการขายทอดตลาด (วิธีประมูล) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงและผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา
..........3.ปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดสินค้าสัตว์น้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงได้รับรู้อย่างรวดเร็วด้วยระบบสารสนเทศที่พัฒนาแล้ว


ภารกิจ/วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

..........1.จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
..........2.จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
..........3.จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
..........4.จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
..........5.สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
..........6.กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ

อำนาจหน้าที่

..........1.กองบริหารทั่วไป อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป ประกอบด้วย งานสารบรรณ งานเจ้าหน้าที่ งานวิศวกรรม งานนิติการ และงานประชาสัมพันธ์
..........2.กองคลัง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบัญชีขององค์การสะพานปลาทั้งหมด รวมถึงการเงิน การพัสดุ และการงบประมาณและสถิติ
..........3.กองพัฒนาการประมง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ วางแผนโครงการต่างๆ และประเมินผล จัดส่งเสริมฐานะ สวัสดิการและอาชีพของชาวประมง
..........4.สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบทำนองเดียวกับข้อ 1-3 โดยอนุโลมรวมถึงอำนวยบริการการจอดเรือประมง การขนถ่าย การคัดเลือกสินค้าสัตว์น้ำ การจราจร ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น
..........5.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานประชุม การรายงานการประชุม เวียนมติที่ประชุม
..........6.งานผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบตรวจและแนะนำการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน
..........7.งานผู้ตรวจสอบภายใน อำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การเงิน การพัสดุ รวมถึงการให้คำแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไข
การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา

ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา
พ.ศ.2496 ดังนี้

...........1.การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
...........2.การพัฒนาการประมง เพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย
...........3.การส่งเสริมการประมง การส่งเสริมการประมงเป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
...........4.การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การจำหน่ายน้ำแข็ง เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส

โครงสร้าง-แผนผังองค์กร

.....1.กองบริหารทั่วไป ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0300 Fax. 0-2212-5899
.....2.กองคลัง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-2992 Fax. 0-2213-2780
.....3.กองพัฒนาการประมง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0471 Fax. 0-2212-4494
.....4.สะพานปลากรุงเทพ ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-4394 Fax. 0-2212-4690
.....5.สะพานปลาสมุทรสาคร ที่อยู่ 1024 ถ.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 Tel. 0-3442-2803 Fax. 0-3442-2803
.....6.สะพานปลาสมุทรปราการ ที่อยู่ 340 หมู่ที่ 6 ถ.ท้ายบ้าน ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10280 Tel. 0-2395-1647-8 Fax. 0-2395-2789
.....7.ท่าเทียบเรือประมงสงขลา ที่อยู่ เลขที่ 1 ถ.ท่าเทียบเรือ ต.บ่อยาง อ.เมืองฯ จ.สงขลา 90000 Tel. 0-7431-3606, 0-7431-1444 Fax. 0-7431-3606
.....8.ท่าเทียบเรือประมงระนอง ที่อยู่ ถ.สะพานปลา ต.ปากน้ำ อ.เมืองฯ จ.ระนอง 85000 Tel. 0-7781-1532 Fax. 0-7781-2232
.....9.ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี ที่อยู่ 3/1 ถ.้ต้นโพธิ์ ต.ตลาดล่าง อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84000 Tel. 0-7727-2545 Fax. 0-7728-1545
.....10.ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ที่อยู่ หมู่ที่ 8 ถ.นาเกลือ ต.บานา อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี 94000 Tel. 0-7334-9168 Fax. 0-7334-9342
.....11.ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ถ.ศรีสุทัศน์ ต.รัษฎา อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต 83000 Tel. 0-7621-5489, 0-7621-1699 Fax. 0-7621-1699
.....12.ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ที่อยู่ ถ.ชมสินธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 Tel. 0-3251-1178 Fax. 0-3251-1178
.....13.ท่าเทียบเรือประมงตราด ที่อยู่ ถ.ชลประทาน ต.วังกระแจะ อ.เมืองฯ จ.ตราด 23000 Tel. 0-951-1176 Fax. 0-3951-11761
.....14.ท่าเทียบเรือประมงสตูล ที่อยู่ ต.ตำมะลัง อ.เมืองฯ จ.สตูล 91000 Tel. 0-7472-2169 Fax. 0-7472-2169
.....15.ท่าเทียบเรือประมงชุมพร ที่อยู่ 400 หมู่ที่ 8 ต.ปากน้ำ อ.เมืองฯ จ.ชุมพร 86120 Tel. 0-7752-1122 Fax. 0-7752-1209
.....16.ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ที่อยู่ 431 หมู่ที่ 4 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หรือ ตู้ ปณ. 8 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140 Tel. 0-7551-7752, 0-7551-7754-5 Fax. 0-7551-7753
.....17.ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี ที่อยู่ ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
.....18.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ องค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899
.....19.ผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2212-4256 Fax. 0-2212-5899
.....20.ผู้ตรวจสอบภายใน ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899

การจำแนกเครื่องมือทำการประมง

การจำแนกเครื่องมือทำการประมง








.........คือ เครื่องมือที่ใช้จับหรือสัมผัสสัตว์น้ำโดยตรง และเครื่องมือช่วยทำการประมง (Auxillary Gears) คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้การจับสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หรือช่วยให้การจับสัตว์น้ำสำเร็จลงได้ เช่น เรือ เครื่องทุ่นแรง เครื่องหาฝูงปลา ซั้ง เป็นต้น





การจำแนกเครื่องมือทำการประมง สามารถแบ่งได้ดังนี้



การจำแนกตามลักษณะการทำงาน (การทำประมง) คือ


1. เครื่องมือประเภทเคลื่อนที่ (Moveable fishing gears)
........
หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือดังกล่าวมีการเคลื่อนที่ และห่างออกไปจากตำแหน่งที่เริ่มต้นด้วยแรงของกระแสลม กระแสน้ำ คน หรือเครื่องยนต์เรือ
2. เครื่องมือประเภทประจำที่ (Stationary fishing gears)
........หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ใช้วิธีลงหลัก ปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือและส่วนประกอบอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง และทำการจับสัตว์น้ำตรงจุดที่ตั้งเครื่องมือนั้นๆ ทุกครั้ง
3. เครื่องมือประเภทกึ่งประจำที่ (Semi-stationary fishing gears)
........หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือนั้นจะถูกยึดถ่วงรั้งให้อยู่กับที่ในระยะเวลาหนึ่ง หรือจนสิ้นสุดการจับสัตว์น้ำแต่ละครั้งเสร็จแล้วเก็บอุปกรณ์ขึ้นเรือ เพื่อนำไปใช้ในบริเวณอื่นๆได้อีก


จำแนกตามขนาดของธุรกิจ คือ


1. เครื่องมือประมงพื้นบ้าน
........
หมายถึง เครื่องมือประมงที่ไม่ใช้เรือหรือใช้ประกอบกับเรือขนาดไม่เกิน 5 ตันกรอส
2. เครื่องมือประมงพาณิชย์
........หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ประกอบกับเรือที่มีขยาดเกินกว่า 5 ตันกรอส การจำแนกตามกรรมวิธีในการจับสัตว์น้ำ